ความผิดปกติทั่วระบบ (Global disorders) ของการรับรู้อารมณ์ ของ ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์

ขอบเขตของประสาทสัมพันธ์อย่างต่ำที่สุดที่เป็นปัจจัยให้เกิดการรับรู้อารมณ์ ไม่มีบรรทัดฐานอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ดังนั้น โดยมาก ความแตกต่างกันของคนไข้สภาพผักเรื้อรัง ผู้มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองที่เป็นปกติในขณะหลับ ผู้บางครั้งสามารถขยับกายหรือยิ้มได้, และของคนไข้สภาพการรับรู้อารมณ์อย่างมินิมัล ผู้สามารถสื่อความหมายเป็นบางครั้งบางคราว (เช่นโดยการขยับลูกตาแบบต่าง ๆ เพื่อสื่อความหมายต่าง ๆ กัน) ผู้มีลักษณะบางอย่างเหมือนคนที่รับรู้อารมณ์ เป็นสิ่งที่จำแนกได้ยาก ส่วนในกรณีที่คนไข้ถูกวางยานอนหลับ คนไข้ไม่ควรมีความเจ็บปวด แต่ต้องมีความตื่นตัวในระดับที่สมควรในการรักษา

โครงสร้างแนวกลางในก้านสมอง (brainstem) และในทาลามัส จำเป็นต่อการควบคุมความตื่นตัวของสมอง เพราะฉะนั้น บาดแผลที่เกิดขึ้นทั้งสองด้านของสมอง (bilateral lesions) แม้เล็ก ๆ ในนิวเคลียสของโครงสร้างเหล่านี้ นำไปสู่การสูญเสียการรับรู้อารมณ์ของทั้งระบบ.[30]

ค่าโบลด์ของเอ็ฟเอ็มอาร์ไอ (BOLD fMRI)[31] แสดงความเป็นไปที่เป็นปกติของสมองในคนไข้สภาพผักที่มีความเสียหายในสมองอย่างรุนแรง เมื่อคนไข้จินตนาการเล่นเทนนิสหรือเข้าไปในห้องต่าง ๆ ในบ้านของคนไข้[32] การบันทึกภาพของสมองส่วนต่าง (Differential brain imaging) ของคนไข้ที่มีความเสียหายทั่วระบบของการรับรู้อารมณ์เช่นนี้ และของคนไข้สภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว (akinetic mutism)[33] แสดงให้เห็นว่า ความผิดปกติในเครือยข่ายคอร์เทกซ์ที่เป็นไปในวงกว้างครอบคลุมทั้งคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า และคอร์เทกซ์สัมพันธ์กลีบข้าง (parietal associative cortex) ทั้งส่วนด้านใน (medial) และด้านข้าง มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการรับรู้อารมณ์ทั่วระบบ[34] การรับรู้อารมณ์ที่ถูกตัดทอนในผู้ป่วยโรคลมชัก ในระหว่างการชักที่ยึดส่วนสมองกลีบขมับของผู้ป่วย ก็ประกอบด้วยการเดินโลหิตที่ลดลงในสมองในส่วนของสมองกลีบขมับส่วนหน้าและส่วนด้านข้าง และการเดินโลหิตที่เพิ่มขึ้นในโครงสร้างสมองแนวกลาง (midline) เช่นทาลามัสส่วนหลังด้านใน (mediodorsal thalamus)[35]

ความเสียหายทั้งสองด้านของสมองที่ค่อนข้างเฉพาะส่วน รอบแนวกลางของโครงสร้างใต้เปลือกสมอง เป็นเหตุให้สูญเสียการรับรู้อารมณ์ทั้งหมดเช่นกัน ฉะนั้น โครงสร้างเหล่านี้ ทำให้เกิดและควบคุมซึ่งความตื่นตัว (วัดได้โดยเมแทบอลิซึมและการนำไฟฟ้าของเซลล์ประสาท) และเป็นองค์ประกอบจำเป็นของประสาทสัมพันธ์ ตัวอย่างหนึ่งก็คือ ในกลุ่มนิวเคลียสที่ต่าง ๆ ชนิดกันของนิวเคลียสมากกว่า 2 โหล ในด้านทั้งสองของก้านสมองด้านบน (คือ พอนส์ สมองส่วนกลาง และทาลามัสด้านหลัง), ซึ่งเรียกรวม ๆ กันว่า reticular activating system (ตัวย่อ RAS)[36] แอกซอน (axons) ของเซลล์เหล่านั้น ยื่นไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของสมองทั่วทั้งหมด นิวเคลียสเหล่านี้ ประกอบด้วยเอกลักษณ์ในโครงสร้างของเซลล์และเอกลักษณ์ของปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ ทำหน้าที่หลั่งสารควบคุมประสาท (neuromodulators) เช่น อะเซททิลโคลิน (acetylcholine) นอราเดรนาลิน / นอเรพินเนฟริน (noradrenaline / norepinephrine) เซโรโทนิน (serotonin) ฮิสตามีน (histamine) และ โอเรกซ์ซิน / ไฮโปเครติน (orexin / hypocretin) เพื่อควบคุมการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นของทาลามัสและสมองส่วนหน้า (forebrain) การหลั่งสารเพื่อควบคุมการตอบสนองเช่นนั้น สื่อการสลับกันซึ่งการตื่นและการหลับ และความตื่นตัวทั่ว ๆ ไปของพฤติกรรมและสมอง

อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีความเสียหายดังที่กล่าวมาแล้ว โดยที่สุด การตอบสนองต่อตัวกระตุ้นของทาลามัสและสมองส่วนหน้าก็สามารถที่จะหายเป็นปกติ และการรับรู้อารมณ์สามารถกลับคืนมาได้[37] องค์แห่งการเปิดทางให้เกิดการรับรู้อารมณ์อีกอย่างหนึ่งก็คือ intralaminar nuclei (ตัวย่อ ILN) 5 นิวเคลียสหรือมากกว่านั้น ของทาลามัส ILN รับสัญญาณด้านเข้าจากนิวเคลียสก้านสมอง และยิงสัญญาณที่มีกำลังไปสู่ basal ganglia โดยตรง, และไปสู่ชั้น 1 (layer I) ของคอร์เทกซ์ใหม่โดยกระจายไปอย่างอ้อม ๆ, ความเสียหายแม้เล็กน้อย (1 ซม3 หรือน้อยกว่านั้น) ใน ILN ของสมองทั้งสองข้าง สามารถน๊อคเอาท์การรับรู้อารมณ์ทั้งหมด[38]

ใกล้เคียง

ประสาทสัมผัส ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ ประสาทหลอนเสียงดนตรี ประสาทสมอง ประสาทวิทยาศาสตร์ ประสาท ตันประเสริฐ ประสาท สืบค้า ประสาน ศิลป์จารุ ประสาทกายวิภาคศาสตร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ http://books.google.com/books?id=7L9qAAAAMAAJ http://books.google.com/books?id=PFnRwWXzypgC http://www-physics.lbl.gov/~stapp/PTB6.pdf http://consc.net/papers/ncc2.html http://brain.oxfordjournals.org/content/124/7/1263... http://www.scholarpedia.org/article/Neuronal_corre... http://www.theswartzfoundation.org/papers/caltech/... http://th.wiktionary.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E...